ไปยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี
สิทธขัดกัน
เรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้ทางสาธารณะซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามาตรา
1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น
รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
ดังนั้น ที่ดินที่ท่านและเพื่อนได้จดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์
เพื่อใช้สำหรับเป็นทางเดินเข้าออกภายในบริเวณหน้าหมู่บ้าน
ย่อมถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เมื่อมีบุคคลใดมาทำให้เกิดความเสียหาย
ประชาชนทุกคนที่ใช้ประโยชน์สาธารณสมบัตินั้นถือเป็นผู้เสียหาย
อย่างไรก็ตาม
หากเป็นการดำเนินการของเทศบาล ต้องพิจารณาด้วยว่าทางเทศบาลเข้ามาถือสิทธิในที่ดินสาธารณประโยชน์นั้น
เพื่อกิจการใด
หากเข้ามาถือสิทธิเพื่อประโยชน์กับทางราชการในส่วนนี้ก็อาจกระทำได้ั
แต่หากเข้ามาถือสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคล
ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายสามารถรวมตัวกันดำเนินการทางกฎหมายได้
ทั้งนี้
เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสอบถามข้อเท็จจริงโดยละเอียด
และเพื่อความสะดวกในการให้คำปรึกษา
ขอให้ท่านติดต่อมาที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม เบอร์โทรศัพท์
02-141-5100
กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
- ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๔ - ๑๓๐๗
- คำสั่งกรมที่ดินที่
๒๔/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม
๒๕๑๓
๑. โอนเป็นที่สาธารณประโยชน์ หมายถึง กรณีที่ผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้ขอจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
๒. แบ่งหักเป็นที่สาธารณประโยชน์ หมายถึง กรณีที่ผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้ขอโอนที่ดินเพียงบางส่วนไม่เต็มทั้งแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยมีการรังวัดกันส่วนที่ประสงค์จะโอนให้เป็นที่สาธารณะออกจากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
วิธีดำเนินการ
๑. การขอจดทะเบียนโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์
- ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบพิมพ์
ท.ด.๙ และ ท.ด.๑ โดย ท.ด.๑ เป็นรายงานการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนสอบสวนและดำเนินการตามระเบียบ
๒. การขอแบ่งหักเป็นที่สาธารณประโยชน์
- ผู้ขอยื่นคำขอแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ตามแบบพิมพ์ ท.ด.๙ แล้ว ส่งเรื่องให้ฝ่ายรังวัดดำเนินการ
- เมื่อฝ่ายรังวัดดำเนินการเสร็จแล้ว จะส่งเรื่องคืนฝ่ายทะเบียนเพื่อแจ้งผู้ขอมาดำเนินการจดทะเบียน
- ในวันที่ผู้ขอมาจดทะเบียน ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ ท.ด.๑ สอบสวน และดำเนินการตามระเบียบ
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
อ.เมือง
จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
ผู้ร้อง
นาย
ทองธรรมชาติ นนทะสุต
๓๕/๖๖ หมู่บ้านมณียา
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
เขตคลองกุ่ม
แขวงบึงกุ่ม
กรุงเทพฯ
๑๐๒๓๐
เรื่องที่
๑๐ การจดทะเบียนภาระจำยอมตามคำพิพากษาศาลโดยไม่ได้โฉนดที่ดินมา สารบบ สล. ๒๑๔๕
เจ้าของเรื่อง กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนฯ ประเด็นปัญหา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมลงในโฉนดที่ดินของจำเลย โดยให้ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของโฉนดที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์ฉบับเจ้าของที่ดินไปยื่นขอจดทะเบียนได้ เนื่องจากจำเลยไม่ยอมส่งมอบให้ มีประเด็นพิจารณาว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกใบแทนโฉนดที่ดิน แปลงภารยทรัพย์เพื่อจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่โจทก์ ตามข้อ ๑๗ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยถือว่าเป็นกรณี
มีสิทธิจดทะเบียนตามคำพิพากษาศาลได้หรือไม่ ถ้าออกใบแทนไม่ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีวิธีดำเนินการ
จดทะเบียนภาระจำยอมตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้อย่างไร จะจดทะเบียนลงในโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์
ฉบับสำนักงานที่ดินเพียงฉบับเดียวได้หรือไม่
ข้อกฎหมาย ๑. ประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา ๖๓ มาตรา
๗๒ มาตรา ๗๕
๒. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๗ (๓)
ความเห็นกรมที่ดิน เจ้าของที่ดินแปลงสามยทรัพย์จะอาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๗ (๓) ของกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)ฯ ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์เพื่อจดทะเบียนภาระจำยอมตามคำพิพากษาศาล
โดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของที่ดินเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๖๓
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถออกใบแทนโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ได้ การที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
(๑) เรียกโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์จากจำเลย เพราะถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องจดทะเบียน
ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาล โดยปฏิบัติตามหนังสือกรมที่ดิน
ที่ มท ๐๖๑๒/๑/๗๙๘๘ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๒ เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน
ที่ มท ๐๖๑๒/๑/ว ๑๑๘๘๘ ลงวันที่ ๑๙
มิถุนายน ๒๕๒๒
(๒) หากพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกโฉนดที่ดินแล้วยังไม่ได้โฉนดมา
พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียน
ลงในโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์เพียงฉบับเดียวไม่ได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา
๗๒
บัญญัติให้ผู้มีความประสงค์ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ และมาตรา ๗๕
บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจดทะเบียนในโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของ
ที่ดินและฉบับสำนักงานที่ดินให้ตรงกัน ดังนั้น
พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมลงใน
โฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์ฉบับสำนักงานที่ดิน โดยไม่จดลงในโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์ฉบับเจ้าของที่ดิน
ด้วยได้
(๓) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับเจ้าของที่ดินแปลงสามยทรัพย์
พนักงานเจ้าหน้าที่ควรดำเนินการ จดทะเบียนภาระจำยอมตามคำพิพากษาศาล โดยบันทึกสาระสำคัญลงในโฉนดที่ดินแปลงสามยทรัพย์
ทั้งฉบับสำนักงานที่ดินและฉบับเจ้าของที่ดินให้ถูกต้องตรงกัน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๗/๒๕๐๔ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน
๒๕๐๔
(๔) เมื่อจดทะเบียนภาระจำยอมตามคำพิพากษาศาลลงในโฉนดที่ดินแปลงสามยทรัพย์แล้ว
ให้หมายเหตุลงในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินแปลงภารยทรัพย์ฉบับสำนักงานที่ดินว่า "ที่ดินแปลงนี้ตก
อยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่………ตำบล……อำเภอ……จังหวัด……ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล…….คดีหมายเลขแดงที่…….ลงวันที่….เดือน…….พ.ศ. …." แล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินลงนามพร้อมด้วย วัน เดือน
ปี
กำกับไว้ หากเจ้าของที่ดินแปลงภารยทรัพย์มาขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใด
ๆ ในที่ดิน ให้แจ้งคู่กรณี
ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วจึงดำเนินการจดทะเบียนต่อไปได้
กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
………………………………………
คำสั่ง
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
วันที่ ๕ เดือน กุมภาพันธ์ พุทธสักราช ๒๕๕๑
ความแพ่ง
ระหว่าง นาย ทองธรรมชาติ นนทะสุต
หรือ นนทะสุด ผู้ร้อง
เรื่อง ขอจัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า
ผู้ร้องเป็นบุตรของนางนิเทศยุติญาณ (อุดม นนทะสุต) ผู้ตาย ซึ่ง
ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๖
โดยผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและแต่งตั้งบุคคลใดๆเป็นผู้
จัดการมรดกไว้ ผู้ตายเท่าที่ตรวจสอบพบเป็นที่ดินฉโนดเลขที่
๘๙๖๖, ๘๙๗๗.๒๗o๙๙
และ ๒๗๑o๑ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ(นายาง) จังหวัด เพชรบุรี การจัดการมรดกขัดข้อง
ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลประกาศไต่สวนตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน
ทางไต่สวนผู้ร้องนำสืบฟังได้ว่า
ผู้ร้องเป็นบุตรโดย ชอบด้วยกฎหมายของนางนิเทศยุติญาณ กับ หลวงนิเทสยุติญาณ (ทองใบ
นนทะสุต) ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๖ ด้วยสาเหตุภาวการณ์ไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว
ขณะถึงแก่ความตายมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ ๒๗๐/๑๑ ถนน นราธิป ตำบลชะอำ
อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ตามมรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน
อนึ่งผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยมีทรัพย์ที่พบเป็นที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่
๘๖๙๙,๗๙๗๗,๒๗๐๙๙ และ ๒๗๑๐๑ ตำบล ชะอำ
อำเภอ ชะอำ(นายาง) จังหวัดเพชรบุรี
ตามเอกสาร ร๑ ถึง ร๔ ภายหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรม
ผู้ร้องได้ไปติดต่อขอโอนทรัพย์มรดกดังกล่าวแต่มีเหตุขัดข้อง
กล่าวคือต้องมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เดือน
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๑ ศาลแพ่งจังหวัดเพชรบุรีพิเคราะห์แล้วเห็นว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมีคำสั่งตั้ง นายทองธรรมชาติ นนทะสุต หรือ
นนทะสุด เป็นผู้จัดการมรดกของนางนิเทศยุติญาณ (อุดม นนทะสุต) ให้มีสิทธและหน้าที่ตามกฎหมาย
ลงชื่อท่าน
ประคอง ศรีสุวรรณและ
ท่าน
ปราโมทย์ ศรีสุข
เรื่อง
แจ้งนัดประชุมทางสาธารณะประโยชน์ ครั้งที่ ๒/๕๖๓
เรียนคุณ ทองธรรมชาติ นนทะสุด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเลขที่โฉนด
๘๖๙๙,๗๙๗๗,๒๗๐๙๙
และ ๒๗๑๐๑ สิ่งที่ส่งมาด้วย
สำเนาการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ความว่า...ตามที่ท่านถือโฉนด
ที่ดินดังกล่าว
ดังมีรายละเอียดของที่ดินดังนี้
(๑)
ที่ดินของท่านเดิม นาย นิลคงเจริญ และ นางอังสุนีย์ เกตุทัต
ได้แบ่งขายเป็นที่ดินจัดสรรและขายเปลี่ยนมือต่อๆกันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒
ที่ดินแบ่งขายดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อบังคับ ตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงไม่มีการดำเนินการจัดการระบบสาธารณูประโภค
โดยมีถนนซอยแปลงทั้งสองถนนเป็นกรรมสิทธิ์ของ นาย นิล คงเจริญ และ นาง อังสุนีย์
เกตุทัต เป็นถนนดินลุกรังปราศจาก
ระบบสาธารณูปโภค
(๒)
เอกสารแนบท้ายเป็นแผนที่ถนน นราธิป ตัดแยกเป็นถนน
ซอยสีแดงกับเขียวซึ่งเป็นของ นาย นิล คงเจริญ และ นาง อังสุนีย์ เกตุทัต
เป็นถนนดินลุกรังปราศจาก
ระบบสาธารณูปโภค และถนนซอยสีแดง เป็นของ
และ นาง อังสุนีย์ เกตุทัต เป็นถนนดินลุกรังปราศจากระบบสาธารณูปโภค
เนื่องด้วยที่ดินดังกล่าวติดอยู่กับที่ดิน
มรดกที่ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่
ดูแล
และให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติผังเมือง.....กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ และ มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการผังเมือง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ข้อ ๖ ที่ดินประเภทชุมชน
ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม เกษตรกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ.....ดังที่กล่าวมาแล้ว ที่ดินในซอยที่ข้าพเจ้าอยู่อาศัยยังไม่มีชื่อซอย
เทศบาลเมืองชะอำเคยว่าจ้าง
ผู้รับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตตามมาตรฐานแต่ถูกยับยั้งโดยผู้ถูกร้องที่
๑ อ้างว่าที่ดินแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน
ดังนั้นจึงไม่มีการสธารณูประโภค ต่อมาภายหลัง
ผู้ก่อสร้างโรงแรม ซี ชะอำ
ได้ดำเนินการสร้างถนนคอนกรีตเฉพาะส่วนหน้าสำเร็จลุล่วงไปหลายปีมาแล้วโดยไม่มีการกีดขวางงานก่อสร้าง
ส่วนที่ดินที่อยู่ติดกันกับโรงแรม ซี
ชะอำไม่มีชื่อเป็นของนางสุนีย์เป็นผู้ถูกร้องที่สองเพราะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซอยสีเขียวเลขที่ดินตามโฉนดเลขที่
๗๖ ก้ไม่ได้รับการ
ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค
เนื่องด้วยที่ดินดังกล่าวติดอยู่กับที่ดิน
มรดกที่ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่
ดูแล
และให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติผังเมือง.....กฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๖๐....ผู้ร้องได้ไปติดต่อขอให้เทศบาลเมืองชะอำดำเนินการสร้างถนนสาธารณูปโภค
แต่ได้รับคำให้การว่าต้องทำเป็นทางสาธารณะหรือจดทะเบียนภาระจำยอมเสียก่อน
สุดท้ายนี้ผู้ร้องจึงไม่มีหนทางอื่นใดที่จะเยียวยาสิทธิในที่ดินมรดกจึงขอ
ศาลแพ่งจังหวัดเพชรบุรีพิเคราะห์แล้วถ้าเหตุผลสมควรให้เจ้าของที่ดินจดภารจำยอมหรือโดนให้เป็นสาธารณะ
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางนิเทศยุติญาณ
(อุดม นนทะสุต)
ให้มีสิทธและหน้าที่ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดเพ็ชรบุรี
พ.ศ ๒๕๖๐ โดยให้เทศบาลเมือง๙ะอำสร้างถนนเข้าซอยทั้งสองซอยจนสำเร็จ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ทองธรรมชาติ นนทะสุต
หรือ นนทะสุต
(
)